ในแง่ฟิสิกส์ แสงเป็นรูปแบบหนึ่งของรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า แสงที่ตามนุษย์มองเห็นได้อยู่ในช่วงความยาวคลื่นระหว่าง 380 - 780 นาโนเมตร ช่วงความยาวคลื่นของอัลตราไวโอเลตและอินฟราเรดอยู่นอกช่วงปลายทั้งสองข้างของช่วงแสงที่มนุษย์มองเห็น ระบบที่อบด้วยรังสีจะใช้แสงยูวี (ความยาวคลื่นระหว่าง 100 - 380 นาโนเมตร) ในการอบหมึกพิมพ์ สารเคลือบเงา ซิลิโคน สารปิดผนึก และสารยึดติด เป็นต้น นับตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 นอกจากหลอดยูวีอาร์คแล้ว ยังพบว่ามีการใช้งานระบบแอลอีดีในการอบเชิงอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ในการใช้งานเชิงอุตสาหกรรม แอลอีดี (หรือ "ไดโอดเปล่งแสง") ถูกนำมารวมเป็นอุปกรณ์โครงสร้างขนาดเล็กเพื่อให้เหมาะกับผลผลิตที่ต้องการ
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบแอลอีดี ยูวี
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปรียบเทียบแอลอีดี ยูวี และหลอดยูวี UV
เทคโนโลยีแอลอีดีเชิงอุตสาหกรรมที่ใช้สำหรับงานเชื่อมขวางที่ความยาวคลื่นระหว่าง 365 - 405 นาโนเมตร มีช่วงที่ใช้บ่อยที่สุดอยู่ที่ระหว่าง 385 - 395 นาโนเมตร โมดูลรองรับแอลอีดีได้ตั้งแต่ 100 ดวงขึ้นไป โดยวงจรอัจฉริยะทำหน้าที่ควบคุมโมดูลเหล่านี้ ทั้งยังช่วยสลับการควบคุมโซนต่าง ๆ อีกด้วย วงจรโซนช่วยปรับให้เข้ากับความกว้างในการทำงาน จึงมีศักยภาพด้านการประหยัดพลังงาน ตัวอุปกรณ์ขนาดกะทัดรัดสร้างความร้อนเหลือทิ้งอย่างไม่ต้องสงสัย ดังนั้น ตามหลักการง่าย ๆ ยิ่งประสิทธิภาพของแอลอีดีแต่ละดวงสูงเท่าไร ความร้อนเหลือทิ้งก็จะยิ่งน้อยลงเท่านั้น โดยความร้อนเหลือทิ้งที่เกิดขึ้นจะต้องถูกกระจายออกไปเพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยาวนาน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในระดับสูง อายุการใช้งานที่ยาวนานมีผลต่อการเปล่งแสงที่ดี หน้าที่ในการพัฒนาคือการอาบวัสดุใช้พิมพ์ด้วยรังสีที่เปล่งออกมาจากแอลอีดีให้ได้มากที่สุด การแยกส่วนทางแสงเข้ามามีบทบาทสำคัญในส่วนนี้ ประเด็นการแยกส่วนทางความร้อนและทางแสงประสบความสำเร็จในการดำเนินการโดยอาศัยเทคโนโลยี XT8 ซึ่งช่วยให้ประหยัดไปได้ร้อยละ 30
สำหรับการใช้งานเชิงอุตสาหกรรม แอลอีดี (หรือไดโอดเปล่งแสง) จะถูกจัดเรียงเป็นหน่วยขนาดเล็กหลาย ๆ หน่วย ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ที่ต้องการ โมดูลรองรับแอลอีดีได้ตั้งแต่ 100 ดวงขึ้นไป โดยวงจรอัจฉริยะจะทำหน้าที่ควบคุมโมดูลเหล่านี้ ทั้งยังควบคุมโซนต่าง ๆ ได้อีกด้วย การควบคุมแบบแบ่งโซนเอื้อต่อการปรับแอลอีดีให้เข้ากับความกว้างในการทำงานและเสริมศักยภาพด้านการประหยัดพลังงาน
อุปกรณ์ขนาดกะทัดรัดเหล่านี้จะสร้างความร้อนเหลือทิ้งอย่างไม่ต้องสงสัย ดังนั้น ตามหลักทั่วไป ยิ่งประสิทธิภาพของแอลอีดีแต่ละดวงสูงเท่าไร ความร้อนเหลือทิ้งก็จะยิ่งน้อยลงเท่านั้น โดยต้องกระจายความร้อนเหลือทิ้งเพื่อยืดอายุการใช้งานของแอลอีดี ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพในระดับสูง อายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นก็จะให้ผลผลิตสูงเช่นกัน
ความท้าทายในการพัฒนาคือการทำให้แสงแอลอีดีที่เปล่งออกมาไปถึงวัสดุใช้พิมพ์โดยสูญเสียให้น้อยที่สุด เมื่อทำเช่นนั้น การแยกส่วนทางแสงจะมีบทบาทสำคัญในส่วนนี้
ประเด็นการแยกส่วนทางความร้อนและทางแสงประสบความสำเร็จในการนำมาดำเนินการโดยอาศัยเทคโนโลยี XT8 ซึ่งช่วยให้ประหยัดไปได้ร้อยละ 30
ระบบแอลอีดีสำหรับการอบหมึกพิมพ์หรือสารยึดติดสามารถต่อเรียงกันตามความกว้างของโมดูลและตามความยาวต่าง ๆ ได้ สายไฟกลายเป็นความท้าทายในการต่อเรียง หากโมดูลเรียงต่อในแนวเดียวกัน จำเป็นต้องมีการสลับแหล่งจ่ายไฟเหล่านี้แบบคู่ขนานกันไป ในการเลี่ยงปัญหานี้ จึงควรย้อนกลับมาพิจารณาความต้องการนี้ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบโครงร่างและแก้ไขโดยใช้ระบบจ่ายไฟภายใน
เทคโนโลยีแอลอีดีเหมาะแก่การอบแห้งและการอบเชิงอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยข้อได้เปรียบของเทคโนโลยีนี้ ข้อดีของไดโอดเปล่งแสง เช่น
ยังเหมาะกับการใช้งานชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลอีกด้วย ซึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้แอลอีดีเป็นที่นิยมอย่างมาก เช่น ในบ้าน หรืออุตสาหกรรมยานยนต์ อีกตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีแอลอีดีที่พบบ่อย คือ ปฏิกิริยาการสังเคราะห์พอลิเมอร์ (การอบ) ของพลาสติกในเทคโนโลยีทันตกรรม
อุตสาหกรรมการพิมพ์และอุตสาหกรรมอื่น ๆ มากมายนำระบบแอลอีดี ยูวี มาใช้ร่วมกับวัสดุใช้พิมพ์หลากหลายชนิด โดยสารเคลือบและสารยึดติดทำหน้าที่ต่าง ๆ ดังนี้
ตามหลักแล้ว เทคโนโลยีการอบด้วยแอลอีดีมีลักษณะการใช้งานที่หลากลาย ไม่ว่าจะเป็นการอบแห้งหมึก สารเคลือบเงา ซิลิโคน สารปิดผนึก หรือสารยึดติดบนวัสดุใช้พิมพ์ต่าง ๆ ในเชิงอุตสาหกรรม การดัดแปลงเพิ่มเติมก็เป็นไปได้เช่นกัน หากคุณกำลังมองหาแนวทางใหม่ ๆ ลองเข้ามาหารือกับเรา! เรายินดีที่จะดูแลและเก็บทุกรายละเอียดเป็นความลับ
วัตต์ต่อตารางเซนติเมตร (W/cm²) เป็นหน่วยวัดที่ได้รับการยอมรับสำหรับระบบแอลอีดี โดยใช้เป็นค่าระบุความเข้มสูงสุดต่อหน่วยพื้นที่ อย่างไรก็ดี เนื่องจากความเข้มลดลงตามระยะทางที่เพิ่มขึ้น จึงมักอ้างอิงค่าใต้ช่องแสงออกโดยตรง สำหรับการวัดที่เทียบเคียงได้ ตำแหน่งที่จะวัดค่ากำลังต้องแน่นอน ค่าต่าง ๆ อาจแปรผันตามวิธีการวัดค่าที่พื้นผิวชิป ช่องแสงออก หรือระดับวัสดุใช้พิมพ์ ทั้งยังต้องคำนึงถึงการกระจายเชิงพื้นที่และเชิงเวลาในแง่การวัดค่า
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือต้องใช้ระบบวัดค่ายูวีที่เหมาะสม คุณลักษณะนี้มีความไวสูงและสม่ำเสมอที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ในช่วงความยาวคลื่นที่ปล่อยออกมาจากแอลอีดี หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อเราได้เลย